วีรกรรมบ้านนาอ้อ จากหนังสือ ๓๐๐ ปี แห่งการตั้งถิ่นฐานบ้านนาอ้อของสุจินต์ เพชรดี กล่าวว่า ในสมัยรัชการที่ ๕ ประมาณ พ.ศ.๒๔๑๔ ฝรั่งเศสนำโดยนายยังมาร์กส์ ปิแอร์ ยึดดินแดน ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงไว้เกือบทั้งหมด รวมทั้งเมืองเชียงคานเก่า คือ เมืองสานะคาม อยู่ฝั่งตรงข้ามเมืองเชียงคานปัจจุบัน๑๕ จากเอกสารประวัติเมืองเลยของกระทรวงมหาดไทยพบว่า ฝรั่งเศสได้เข้ามายึดเมืองเชียงคาน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๖ (รศ.๑๑๒) จากข้อมูลข้างต้นทางผู้ศึกษาได้วิเคราะห์แล้วว่า เหตุการณ์ที่ฝรั่งเศสเข้ามายึดดินแดนและไทยต้องเสียฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๖ หรือ รศ.๑๑๒ จึงเชื่อได้ว่าเหตุการณ์วีรกรรมบ้านนาอ้อเกิดขึ้นหลัง พ.ศ.๒๔๓๖ ไม่ใช่ พ.ศ.๒๔๑๔ ในปี พ.ศ.๒๔๓๖ เมื่อฝรั่งเศสยึดเมืองเชียงคานเก่าได้แล้ว ชาวเมืองเชียงคานไม่พอใจ และด้วยความรักอิสรเสรี รักความเป็นไทย จึงพร้อมใจกันอพยพข้ามมาตั้งเมืองที่ฝั่งขวาแม่น้ำโขงเยื้องกับเมืองเดิมไปทางเหนือเล็กน้อย เมืองที่ตั้งใหม่เรียกว่า เมืองใหม่เชียงคาน คือที่ตั้งอำเภอเชียงคานปัจจุบัน ราษฎรที่อพยพข้ามมาครั้งนั้นไม่มีผู้ใดเกลี้ยกล่อมหรือบังคับ ทุกคนข้ามมายังดินแดนที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทยด้วยความเต็มใจ ไม่พอใจที่จะอยู่ภายใต้ การปกครองของคนต่างชาติ ประมาณว่าผู้คนอพยพมาครั้งนั้นประมาณ ๔ ใน ๕ ของเมืองเชียงคานเดิม หัวหน้าผู้อพยพครั้งนั้นได้แก่ พระอนุพินาศเจ้าเมืองเชียงคาน ๑๖
ไม่นานฝรั่งเศสคิดเหิมเกริม ได้นำทหารฝรั่งเศสจำนวน ๑๒ นาย เป็นหัวหมู่ พร้อมด้วยทหารลาวและญวน จำนวนหนึ่งได้ต่อแพข้ามแม่น้ำโขงมายังเมืองเชียงคานใหม่ ที่ขึ้นตรงต่อไทยเพื่อหนังที่จะยึดเมืองเชียงคานใหม่ พร้อมกับเผชิญหน้าพระยาศรีอัครฮาต เจ้าเมืองเชียงคานใหม่ ทหารฝรั่งเศสขู่บังคับให้ยกเมืองเชียงคานให้ฝรั่งเศสแต่เจ้าเมืองไหวตัวทัน ให้รองเจ้าเมืองรับหน้าแทนส่วนเจ้าเมืองนั้น ไปขอกำลังทหารจากค่ายประจักษ์ศิลปาคม มาปราบ รองเจ้าเมืองก็ใช้อุบายแนะนำให้ฝรั่งเศสยึดยึดเมืองเลยก่อน ถ้ายึดเมืองเลยเป็นของฝรั่งเศสได้แล้ว ทางเมืองเชียงคานก็ไม่มีปัญหาอะไร ๑๕ จากนั้นฝรั่งเศสก็ได้เดินทางหมายมุ่งที่จะยึดเมืองเลยให้ได้ ระหว่างทางได้พบ อินทจักษ์นายฮ้อยค้าควายชาวนาอ้อ ทหารฝรั่งเศสจึงได้ร้องตระโกนใส่เสียงดังและชักถามแกมขู่ ซึ่งมีล่ามภาษาแปลเป็นไทยว่า “เจ้าเดินทางรุกร้ำเข้ามาดินแดนของฝรั่งเศสโดยไม่ได้รับอนุญาต” จากหนังสือ ๓๐๐ ปี แห่งการตั้งถิ่นฐานบ้านนาอ้อของสุจินต์ เพชรดีกล่าวว่าเมื่อทหารฝรั่งเศส ตระโกนใส่อินทจักษ์แล้ว จากนั้นกลางแผนที่ให้ดูปรากฏว่าแผนที่นั้น แผ่คลุมเข้ามาในเขตไทยหลายหมู่บ้าน รวมทั้งบ้างนาอ้อ บ้านก้างปลา บ้านนาบอนหัวฝายจึงทำให้อินทจักษ์งงและยอมจำนนโดยง่าย จากนั้นก็เกลื้อกล่อมให้อินทจักษ์พาเข้าไปหมู่บ้านไปเกลื้อกล่อมคนในหมู่บ้านนาอ้อเข้ามาเป็นพวกตนว่า“ถ้าชาวนาอ้อยินยอมเข้าร่วมกับฝรั่งเศส ฝรั่งเศสจะตั้งบ้านนาอ้อเป็นนครหงส์”๑๖ จากการศึกษาพบข้อสังเกตว่า ในสมัย พ.ศ.๒๓๓๖ นั้นทางประเทศไทยยังมีความรู้ ด้านการทำแผนที่ และมีคนอ่านแผนเป็นจำนวนไม่มาก ซึ่งผู้ที่อ่านแผนที่ได้จะต้องเป็นข้าราชระดับสูง หน่วยงานราชการ หรือชาวต่างชาติเท่านั้น ในประเทศไทยมีการเริ่มทำแผนที่ใน ปี พ.ศ.๒๔๑๘ ดังนั้น ในกรณีนายฮ้อยค้าควายนี้อ่านแผนที่ และสามารถระบุตำแหน่งของแผนที่ได้อย่างแม่นยำนั้น ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งกับข้อมูลข้างต้น จากหนังสือ ๓๐๐ ปี แห่งการตั้งถิ่นฐานบ้านนาอ้อของสุจินต์ เพชรดีกล่าวว่าจากนั้น กองทหารฝรั่งเศสก็เดินทางเข้าสู่บ้านนาอ้อและตั้งค่ายที่วัดศรีชมชื่น ระหว่างนั้นก็ได้จ้าง ชาวบ้านเป็นสายสืบ และเกื้อกล่อมให้ชาวบ้านมาร่วมมือในการเข้ายึดเมืองเลย โดยมีชาวบ้านหลายรายหลงเชื่อแต่มีชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่เอาด้วยพร้อมทั้งหาทางส่งข่าวไปบอกเจ้าราชบุตร ที่เมืองเลยมาช่วย ไม่กี่วันเจ้าราชบุตรก็ได้ส่งกำลังทหารและชาวบ้านช่วยกันต่อสู้กับกองทหารฝรั่งเศสอย่างบ้าระห่ำจนทำให้ฝรั่งเศสแตกกระเจิงหนีไปตั้งค่ายอยู่ที่บ้านโพน๑๗ มีผู้ให้ข้อมูลหลายท่านให้ข้อมูลว่ากองทหารฝรั่งเศสตั้งค่ายอยู่ที่วัดศรีจันทร์โดยใช้ศาลาการเปรียญวัดศรีจันทร์ เป็นศูนย์บัญชาการ จันทะนี คามะดากล่าวว่า “กองโจรฝรั่งเศสมาตั้งค่ายที่วัดศรีจันทร์ เพราะมีการสร้างส้วมขึ้นเพื่อใช้ในค่ายทหาร” ล้อม จ้องก่า ให้ข้อมูลว่า “กองโจรฝรั่งเศสแยกออกเป็นสองกอง กองแรกระดับหัวหน้าไปตั้งค่ายอยู่ที่วัดศรีจันทร์ ส่วนกองที่สองทหารที่ติดตามมา ทหารญวน ทหารลาว ได้ใช้วัดศรีชมชื่นเป็นค่ายพัก”
จากการศึกษาพบว่าหลักฐานที่ชี้ชัดว่าฝรั่งเศสตั้งค่ายอยู่วัดศรีจันทร์ คือ ส้วมที่ทหารฝรั่งเศสสร้างขึ้น และที่เขี่ยบุหรี่ทองเหลือง ปัจจุบันยังอยู่ และส่วนหลักฐานว่าฝรั่งเศสตั้งค่ายอยู่วัดศรีชมชื่นนั้นไม่มีหลักฐานสนับสนุนเพียงแต่มีชาวบ้านให้การยืนยันเท่านั้น